เรื่องที่ 2 วาดเส้น

0002

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเส้นเป็นพื้นฐานที่สาคัญของงานทัศนศิลป์ทุกชนิด

pdf-icon2 ไฟล์เอกสารอ่านประกอบ เรื่อง วาดเส้น
academic-report-icon-2x-copy กิจกรรม (Activity)-ใบงานที่ 2
youtube-512-copy
 VDO เรื่อง วาดเส้น


 การวาดเส้น
การวาดเส้น เป็นการที่มนุษย์ใช้มือจับ วัสดุ หรือ เครื่องเขียนชนิดต่างๆ เขียน ลาก ขูด ขีด ลงบนกระดาษ หรือ บนพื้นระนาบ เพื่อให้เกิดรูปร่างตามที่ต้องการ และ สร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือ เพื่อบอกกล่าว เสนอแนะ ให้ผู้พบเห็นได้คิด ได้ชื่นชม ได้รับรู้ตามวัตถุประสงค์ การวาดเส้นเป็นผลมาจากควานเข้าใจ และ รู้จักถ่ายทอดที่ฉลาดของมนุษย์โดยมีสมองสั่งการ ซึ่งมีมือทำหน้าที่วาด ด้วยวิธีการ และ เทคนิคต่างๆ ออกเป็นรูปภาพ และ ช่วยสื่อความหมาย ดังนั้นการวาดเส้นที่จะได้ผลงานที่ดี ต้องได้รับการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะฝีมือ และ มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการ องค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ในงานวาดเส้น

เครื่องมือในการวาดเส้น
ดินสอ เป็นเครื่องมือหลัก หรือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานของการฝึกที่จะได้ผลดีในระยะ เริ่มต้นในการจับเพื่อการวาดเส้น จะมีข้อแตกต่างจากการจับเพื่อการเขียนหนังสื่อ เพราะในบางเส้นอาจจะต้องออกแรงกด เพื่อการเน้นน้ำหนักของภาพ หรือ ยกเบาให้เกิดน้ำหนักอ่อน

02การจับกดเพื่อให้เกิดเส้นมีน้ำหนัก

03
การจับเขียนในลักษณะภาพร่างหรือให้น้ำหนักเบา

เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตำแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ในลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น

04ตำแหน่งของปลายดินสอ

ในการฝึกวาดเส้นพื้นฐาน การลากเส้นในลักษณะต่างๆ มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการจับเครื่องมือในการวาด และมีทักษะในการบังคับทิศทางของการลากเส้น ซึ่งพอจะแบ่งในการฝึก ได้ดังนี้

  1. ลากเส้นตรง แนวดิ่ง

05

จะเป็นการลากเส้นจากบนลงล่าง สลับจากล่างขึ้นบนก็ได้ แต่ต้องบังคับให้เป็นเส้นตรงแนวดิ่งให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน  เส้นแนวดิ่งจะให้ความรู้สึก ตั้งมั่นคง

  1. ลากเส้นตรงแนวนอน

เริ่มจากซ้ายไปขวา แล้วสลับ ขวามาซ้ายก็ได้ แต่ต้องบังคับมือเส้นตรงได้แนวนอนให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน เส้นแนวนอน จะให้ความรู้สึกราบเรียบ สงบ

05

  1. ลากเส้นตรงแนวเฉียง

การบังคับค่อนข้างจะยากกว่าลากเส้นแนวดิ่ง แต่การฝึกเป็นประจำ และ มีสติรับรู้ขณะลากเส้น ก็จะทำให้บังคับได้ดี ลักษณะเส้นโดยรวมดูมีระเบียบ เส้นเฉียงจะให้ความรู้สึก ไม่มั่นคง ล้ม

07

  1. ลากเส้นตรงสลับแนว

การลากเส้นสลับไปมา หรือ ที่เรียกว่า ซิกเซ็ก เป็นการลากเส้นตรง ผสมผสาน ของเส้นเฉียง เป็นการฝึกลากเส้นที่มีความต่อเนื่องไปมา โดยบังคับเส้นให้ขนาดมีระเบียบ มีจังหวะของความยาวของช่วงเท่ากัน จะทำให้เกิดภาพรวม ที่ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว สลับซับซ้อน

08

  1. ลากเส้นโค้ง และวงกลม

ลากเส้นโค้ง และวงกลม เป็นการฝึกลากเส้นที่ต้องเปลี่ยนแนวการบังคับในการจับเครื่องเขียนที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อให้ได้เส้นขนาน น้ำหนักเส้นคงที่ ไม่ซ้อนทับกัน ลักษณะของเส้น ให้ความรู้สึก อ่อนไหว ลื่นไหล เคลื่อนไหว เมื่อนำไปร่วมกับ เส้นตรงจะให้ความรู้สึกที่ไม่แข็งของภาพ ในควรฝึกลากอยู่เป็นประจำ โดยใช้ทั้งดินสอ และปากกา

09

  1. การลากเส้นรวมผสมผสาน

เป็นการฝึกลากเส้นหลายทิศทาง สลับการใช้ทั้ง เส้นตรง เส้นโค้ง แต่ยังคงรักษา จังหวะ ระยะ ห่างของแต่ละเส้น ให้สม่ำเสมอ ปลายของทุกเส้นลากชนขอบ มีจุดจบของปลายเส้น เป็นการฝึกที่บังคับมือทั้ง ระยะสั้นและ ยาว โดยมีกรอบบังคับอยู่ในตัว ทำให้เกิดความแม่นยำ และสร้างความมั่นใจในการลากเส้นวิธีหนึ่ง ภาพรวมจะให้ความรู้สึกซับซ้อน การประสานมีมิติของการมอง

10

หลักการของแสง และเงา

การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เพราะมีแสงสว่าง  ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง  เช่น  ในถ้ำ  ในห้องที่ปิดสนิท  เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น  มีแสง จึงมีเงา  ในการวาดภาพจึงต้องมี  หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน  เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ  ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น  อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย  ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง  อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้  เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ  และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย

11

ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา  การฝึกใส่น้ำหนัก  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน  โดยใช้ดินสอ  ระดับ  2B – 4B   ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน   สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม

12

ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย  ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ

เรื่องที่ 1 แสง และเงา

0001

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเทคนิคในการวาดภาพโดยใช้แสงเงา จะทำให้สร้างสรรค์ผลงานที่มีระยะความเหมือนจริงมากขึ้น

pdf-icon2 ไฟล์เอกสารอ่านประกอบ เรื่อง แสง และเงา
academic-report-icon-2x-copy กิจกรรม (Activity)-ใบงานที่ 1
youtube-512-copy VDO เรื่อง แสงเงาในการวาดภาพ


แสง หมายถึง สิ่งที่ทำให้เรามองเห็นวัตถุ จะมี 2 ลักษณะ คือ
1. เกิดขึ้นจากธรรมชาติ เช่น แสงจากดวงอาทิตย์ แสงจากดวงจันทร์ แสงจากดวงดาว เป็นต้น
2. เกิดจากมนุษย์สร้างขึ้น เช่น หลอดไฟ ไฟฉาย โคมไฟ เทียน เป็นต้น

แสงช่วยทำให้มองเห็นสิ่งต่างๆ ได้อย่างชัดเจน นอกจากนั้นแสงยังทำให้เกิดเงาของวัตถุ ซึ่งเงานี้จะอยู่ในทิศทางตรงข้ามกับแสงเสมอ ทั้งแสงและเงาช่วยทำให้เกิดระยะความตื้นลึกของภาพในการเขียนภาพระบายสี เราสามารถใช้สีต่างๆแสดงแสงและเงาได้

01

  1. แสงสว่างจัด (HIGH LIGHT) คือ บริเวณของวัตถุที่ถูกแสงสว่างโดยตรงและมากที่สุด การวาดถ้าเป็นวัตถุแข็งหรือเป็นเงามัน ควรทิ้งส่วนที่แสงสว่างที่สุดให้เป็นกระดาษขาวได้เลยแต่ถ้าเป็นวัตถุ แสงเงาในการวาดเส้นช่วยให้งานวาดเส้นที่ได้ออกมาเหมือนจริงยิ่งค่าของน้ำหนักสีมีค่าระดับมากเท่าไหร่ก็จะเพิ่มค่าของความเหมือนมากเท่านั้น
  1. แสงสว่าง (LIGHT) คือ บริเวณที่ไม่ถูกแสงกระทบโดยตรงจะเป็นแสงเรื่อมๆเทาการวาดให้แรเงาแบบเกลี่ยเรียบจากน้ำหนักเงามาจนถึงแสงสว่าง
  2. เงา (SHADOW) คือ บริเวณที่ถูกแสงน้อยที่สุด การวาดควรเน้นส่วนที่เป็นเงาให้เข้ม และเน้นเส้นรอบนอก (OUT LINE) ดังนั้นการประกอบกันระหว่างแสงสว่างจัด แสงสว่าง และเงาจะเกิดเป็นภาพสามมิติหรือภาพวาดที่มีชีวิต
  3. แสงสะท้อน (REFLECT LIGHT) คือ บริเวณที่มีแสงของวัตถุโดยรอบสะท้อนเข้ามาในวัตถุนั้น ไม่ว่าจะเป็นในด้านของแสงหรือเงาจะได้รับอิทธิพลของแสงสะท้อนนี้ได้เหมือนกัน
  4. เงาตกกระทบหรือเงาของวัตถุ (CASTSHADOW) จะอยู่ด้านเงามืดของวัตถุเสมอเป็นเงาของวัตถุที่ตกกระทบพื้น เงาของวัตถุจะเป็นเช่นไรขึ้นอยู่กับรูปทรงของวัตถุและมุมของแสงที่มากระทบ

02

เงา คือส่วนที่แสงส่งไปไม่ถึงโดยมีวัตถุหรือสิ่งของบังเอาไว้

เงาตกทอดจะมีรูปร่างเหมือนวัตถุนั้น ๆ  เช่น  วัตถุรูปสี่เหลี่ยม  เงาตกทอดก็เป็นสี่เหลี่ยมเหมือนรูปร่างของวัตถุนั้นๆ เงาจะชัดหรือไม่ชัดอยู่ที่แสงถ้าแสงสว่างจัดเงาก็จะชัด ถ้าแสงสว่างน้อยเงาก็ไม่ชัด

เงาของวัตถุมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับแสงสว่างที่มากระทบวัตถุนั้นแสงสว่างน้อยเงาที่เกิดขึ้นกับวัตถุก็จะน้อย
ถ้าแสงสว่างจัดมากเงาของวัตถุที่ปรากฏก็จะเข้มชัดมากขึ้นด้วย ลักษณะของเงาตกทอดนั้นสามารถแยกได้เป็น
2 ประเภท ดังนี้

  1. เงาตกทอด หมายถึง แสงสว่างที่มากระทบวัตถุแล้วเกิดเป็นเงาตกทอดไปยังพื้นที่ที่วัตถุนั้นวางอยู่
  2. เงาคาบเกี่ยว หมายถึง แสงสว่างที่มากระทบวัตถุแล้วเกิดเป็นเงาตกทอดไปยังพื้นและมีวัตถุใกล้เคียงวางอยู่หรือวางอยู่ใกล้ผนังเงาที่ใกล้ผนังเงาที่เกิดขึ้นก็จะเกิดจากพื้นและทอดไปยังวัตถุใกล้เคียง

แสงและเงาช่วยให้การวาดเส้นแรเงาดูเป็นสามมิติหรือเหมือนจริงมากที่สุดดังนั้นผู้ที่ฝึกวาดรูปจึงควรต้องศึกษาเรื่องของแสงเงาก่อน

น้ำหนักแสงและเงา
แสงและเงา (LIGHT AND SHADOW) ในการวาดภาพลายเส้นนั้นน้ำหนักแสงเงาเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งในการทำงาน เพราะแสงเงาจะช่วยทำให้ผลงานที่สร้างสรรค์ออกมาเหมือนจริงมากยิ่งขึ้น การวาดภาพที่มีการแสดงน้ำหนักแสงเงาที่ชัดเจนนั้น จะถ่ายทอดตามสายตาที่มองเห็น เช่น ความลึก ตื้น หนา บาง นูน เรียบ โค้ง เว้า ได้ชัดเจนมากกว่าภาพที่แสดงด้วยเส้นเพียงเส้นเดียว จะใช้ค่าน้ำหนักแสงเงาทั้งหมด 10 ระดับในการศึกษาเพื่อให้ผลงานที่ออกมานั้นสมจริงมากยิ่งขึ้น

03

  1. ภาพแสงเงา 2 ระยะ หมายถึง ภาพที่แสดงเพียง 2 ระยะส่วนใหญ่จะเห็นเงาเป็นเพียงแผ่นบางๆเน้นส่วนรายละเอียด (DETAIL) น้อง
  2. ภาพแสงเงา 3 ระยะ หมายถึง ภาพที่แสดงน้ำหนักแสงเงาค่อนข้างชัดเจนมากกว่าภาพ 2 ระยะ เห็นรายละเอียดได้มากกว่า แสดงส่วนที่เป็นแสงสว่างและเงามืดได้ชัดเจนกว่า
  3. ภาพแสงเงากลมกลืน หมายถึง ภาพที่แสดงแสงเงาใกล้เคียงธรรมชาติมากที่สุดรายละเอียดชัดเจนจะเป็นภาพวาดที่มีลักษณะเหมือนจริงมาก

ทิศทางแสง
เรียนรู้ทิศทางของแสงกัน เพราะแม้ว่าแสงที่มีแหล่งกำเนิดมาจากที่เดียวกันแต่หากว่ามีทิศทางที่แตกต่างกันจะส่งต่อมิติของภาพ หรืออารมณ์ของภาพได้ ดังนั้นในการถ่ายภาพไม่ว่าจะมือใหม่หรือมืออาชีพ สิ่งที่ควรพิจารณาอีกอย่างคือความเหมาะสมของทิศทางของแสง โดยเราสามารถแบ่งทิศทางของแสงออกเป็น 4 ทิศทางใหญ่ๆ ดังนี้

  1. ทิศทางแสงบน คือแหล่งกำเนิดแสงจะอยู่บนหัวเราหรือมุมสูงนั่นเอง ยกตัวอย่าง การถ่ายภาพในตอนกลางวันดวงอาทิตย์จะอยู่ด้านบนหัวเราแสงที่ออกมาจะมีความเข้มสูงและกระจายเต็มพื้นที่ และจะทำให้เกิดเงาตกกระทบทางด้านล่างของวัตถุ แสงในทิศทางนี้ไม่เหมาะในการถ่ายภาพคนเพราะว่าจะเกิดเงาบริเวณใต้ตา ปาก และจมูก การถ่ายภาพที่เหมาะสมกับแสงในทิศทางนี้ เช่น การถ่ายภาพกิจกรรมทั่วๆ ไป เช่น การแสดงต่างๆ ภาพการแข่งขันกีฬา เนื่องจากแสงจากทิศทางดังกล่าวจะมีความแรงและมักจะไม่ถูกบดบังจากวัตถุอื่นๆ
  2. ทิศทางแสงข้าง หมายถึงทุกทิศทางที่มาจากทางด้านข้าง ไม่ว่าจะมาตรงๆ หรือเฉียงก็ตาม แสงที่มาจากด้านข้างนี้ จะทำให้ภาพมีมิติ แต่จะทำให้เกิดแสงเงาทางด้านตรงข้ามของแสง คือถ้าแสงมาด้านซ้ายก็จะเกิดเงามืดทางด้านขวานั่นเอง มือใหม่ควรระวังในจุดนี้ด้วย สำหรับแสงข้างเหมาะสำหรับการวาดภาพหลายประเภท อาทิ เช่น วาดภาพคน วาดภาพวิวทิวทัศน์ วัตถุ สิ่งของ เพราะแสงจะทำให้วัตถุดูมีมิติ ไม่เรียบแบนจนเกินไป
  3. ทิศทางแสงด้านหน้า แสงจะมาทางด้านหลังของวัตถุที่เป็นแม่แบบ หรือถ้าเรียกเป็นคำพูดที่เราค้นเคยกันดีก็คือ ทิศทางย้อนแสง นั่นเอง จะเป็นการถ่ายภาพย้อนแสง ซึ่งโดยปกติแล้วการถ่ายถาพย้อนแสงจะทำให้ภาพไม่สวย หน้าจะมืด หรือวัตถุหรือแม่แบบจะกลายเป็นเงาดำ จะเห็นเป็นแค่รูปร่างของวัตถุที่ตัดกับแสงจากท้องฟ้า
  4. ทิศทางแสงด้านหลัง คือทิศทางของแสงจะเข้ามาทางด้านหน้าของตัวแบบหรือวัตถุ หรือทิศทางตามแสง เหมาะสำหรับการถ่ายภาพทั่วไป เช่น การถ่ายภาพวิวทิวทัศน์ หรือภาพคน เมื่อถ่ายออกมาแล้วจะให้ภาพที่เห็นรายละเอียดต่างๆ ของวัตถุครบทุกส่วนชัดเจน ไม่เกิดเงาทางด้านหน้า เงาจะไปตกอยู่ทางด้านหลังแทน

04

 มุมแสง
มุมของแสงจะถูกกำหนดโดยความสูงของแหล่งกำเนิดแสง เมื่อแหล่งกำเนิดแสงสูงมุมสูงชัน (ใกล้กับแนวตั้ง) และเงาสั้น; เมื่อแหล่งกำเนิดแสงอยู่ในระดับต่ำมุมอยู่ในแนวนอนมากขึ้นและเงายาว

05