เรื่องที่ 2 วาดเส้น

0002

วัตถุประสงค์
เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจเส้นเป็นพื้นฐานที่สาคัญของงานทัศนศิลป์ทุกชนิด

pdf-icon2 ไฟล์เอกสารอ่านประกอบ เรื่อง วาดเส้น
academic-report-icon-2x-copy กิจกรรม (Activity)-ใบงานที่ 2
youtube-512-copy
 VDO เรื่อง วาดเส้น


 การวาดเส้น
การวาดเส้น เป็นการที่มนุษย์ใช้มือจับ วัสดุ หรือ เครื่องเขียนชนิดต่างๆ เขียน ลาก ขูด ขีด ลงบนกระดาษ หรือ บนพื้นระนาบ เพื่อให้เกิดรูปร่างตามที่ต้องการ และ สร้างความเข้าใจระหว่างมนุษย์ด้วยกัน หรือ เพื่อบอกกล่าว เสนอแนะ ให้ผู้พบเห็นได้คิด ได้ชื่นชม ได้รับรู้ตามวัตถุประสงค์ การวาดเส้นเป็นผลมาจากควานเข้าใจ และ รู้จักถ่ายทอดที่ฉลาดของมนุษย์โดยมีสมองสั่งการ ซึ่งมีมือทำหน้าที่วาด ด้วยวิธีการ และ เทคนิคต่างๆ ออกเป็นรูปภาพ และ ช่วยสื่อความหมาย ดังนั้นการวาดเส้นที่จะได้ผลงานที่ดี ต้องได้รับการฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เกิดทักษะฝีมือ และ มีความรู้เข้าใจเกี่ยวกับหลักการ องค์ประกอบต่าง ๆ รวมถึง วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือต่างๆ ในงานวาดเส้น

เครื่องมือในการวาดเส้น
ดินสอ เป็นเครื่องมือหลัก หรือ เป็นเครื่องมือพื้นฐานของการฝึกที่จะได้ผลดีในระยะ เริ่มต้นในการจับเพื่อการวาดเส้น จะมีข้อแตกต่างจากการจับเพื่อการเขียนหนังสื่อ เพราะในบางเส้นอาจจะต้องออกแรงกด เพื่อการเน้นน้ำหนักของภาพ หรือ ยกเบาให้เกิดน้ำหนักอ่อน

02การจับกดเพื่อให้เกิดเส้นมีน้ำหนัก

03
การจับเขียนในลักษณะภาพร่างหรือให้น้ำหนักเบา

เทคนิคพื้นฐานของการวาดเส้นให้ได้ขนาดต่าง ๆ โดยการวางตำแหน่งของปลายดินสอ บนพื้นกระดาษ ในลักษณะของการจับดินสอเอียง หรือ เฉียง จะเกิดความแตกต่างของขนาดเส้นที่ได้ ถ้าจับวาดในแนวดิ่งจะได้เส้นเล็ก ถ้าเอียงมุมลง เส้นจะโตขึ้น หรือถ้าต้องการให้ได้พื้นที่มากแบบระบาย ก็จับดินสอให้เอียงมากขึ้น

04ตำแหน่งของปลายดินสอ

ในการฝึกวาดเส้นพื้นฐาน การลากเส้นในลักษณะต่างๆ มีความจำเป็นมากในเบื้องต้น เพราะจะช่วยให้มีความคุ้นเคยกับการจับเครื่องมือในการวาด และมีทักษะในการบังคับทิศทางของการลากเส้น ซึ่งพอจะแบ่งในการฝึก ได้ดังนี้

  1. ลากเส้นตรง แนวดิ่ง

05

จะเป็นการลากเส้นจากบนลงล่าง สลับจากล่างขึ้นบนก็ได้ แต่ต้องบังคับให้เป็นเส้นตรงแนวดิ่งให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน  เส้นแนวดิ่งจะให้ความรู้สึก ตั้งมั่นคง

  1. ลากเส้นตรงแนวนอน

เริ่มจากซ้ายไปขวา แล้วสลับ ขวามาซ้ายก็ได้ แต่ต้องบังคับมือเส้นตรงได้แนวนอนให้มากที่สุด รักษาระยะห่างเท่ากัน ขนาดความยาวเท่ากัน เส้นแนวนอน จะให้ความรู้สึกราบเรียบ สงบ

05

  1. ลากเส้นตรงแนวเฉียง

การบังคับค่อนข้างจะยากกว่าลากเส้นแนวดิ่ง แต่การฝึกเป็นประจำ และ มีสติรับรู้ขณะลากเส้น ก็จะทำให้บังคับได้ดี ลักษณะเส้นโดยรวมดูมีระเบียบ เส้นเฉียงจะให้ความรู้สึก ไม่มั่นคง ล้ม

07

  1. ลากเส้นตรงสลับแนว

การลากเส้นสลับไปมา หรือ ที่เรียกว่า ซิกเซ็ก เป็นการลากเส้นตรง ผสมผสาน ของเส้นเฉียง เป็นการฝึกลากเส้นที่มีความต่อเนื่องไปมา โดยบังคับเส้นให้ขนาดมีระเบียบ มีจังหวะของความยาวของช่วงเท่ากัน จะทำให้เกิดภาพรวม ที่ให้ความรู้สึก เคลื่อนไหว สลับซับซ้อน

08

  1. ลากเส้นโค้ง และวงกลม

ลากเส้นโค้ง และวงกลม เป็นการฝึกลากเส้นที่ต้องเปลี่ยนแนวการบังคับในการจับเครื่องเขียนที่ต้องเพิ่มความระมัดระวังมากขึ้น เพื่อให้ได้เส้นขนาน น้ำหนักเส้นคงที่ ไม่ซ้อนทับกัน ลักษณะของเส้น ให้ความรู้สึก อ่อนไหว ลื่นไหล เคลื่อนไหว เมื่อนำไปร่วมกับ เส้นตรงจะให้ความรู้สึกที่ไม่แข็งของภาพ ในควรฝึกลากอยู่เป็นประจำ โดยใช้ทั้งดินสอ และปากกา

09

  1. การลากเส้นรวมผสมผสาน

เป็นการฝึกลากเส้นหลายทิศทาง สลับการใช้ทั้ง เส้นตรง เส้นโค้ง แต่ยังคงรักษา จังหวะ ระยะ ห่างของแต่ละเส้น ให้สม่ำเสมอ ปลายของทุกเส้นลากชนขอบ มีจุดจบของปลายเส้น เป็นการฝึกที่บังคับมือทั้ง ระยะสั้นและ ยาว โดยมีกรอบบังคับอยู่ในตัว ทำให้เกิดความแม่นยำ และสร้างความมั่นใจในการลากเส้นวิธีหนึ่ง ภาพรวมจะให้ความรู้สึกซับซ้อน การประสานมีมิติของการมอง

10

หลักการของแสง และเงา

การที่มนุษย์มองเห็นสิ่งต่าง ๆ ได้เพราะมีแสงสว่าง  ถ้าขาดแสงหรือไปอยู่ในที่ไม่มีแสง  เช่น  ในถ้ำ  ในห้องที่ปิดสนิท  เราก็จะไม่เห็นอะไรทั้งสิ้น  มีแสง จึงมีเงา  ในการวาดภาพจึงต้องมี  หลักการของแสงเงาเป็นพื้นฐาน  เพื่อให้เกิดความสมจริงของวัตถุนั้น ๆ  ในการถ่ายทอดเป็นรูปภาพในวัตถุแต่ละชิ้น  อาจมีทั้งจุดที่สว่างมาก และ สว่างน้อย  ส่วนเงาคือส่วนที่ไม่ถูกแสง  อาจจะเกิดจากส่วนตื้นลึก หรือถูกบังแสงก็ได้  เพราะทิศทางของแสง จะตรงกันข้ามกับเงาเสมอ  และ มีผลต่อความคมชัดของเงาด้วย

11

ในการวาดภาพเกี่ยวกับแสงเงา  การฝึกใส่น้ำหนัก  เป็นสิ่งที่ต้องฝึกปฏิบัติเป็นพื้นฐาน  โดยใช้ดินสอ  ระดับ  2B – 4B   ไล่น้ำหนักจากเข้มไปอ่อน   สลับกับอ่อนไปเข้มหรือดำ และ สลับทิศทางของเส้นแต่ก็คงน้ำหนักจากเข้มไปอ่อนหรืออ่อนไปเข้ม

12

ในการเขียนแสงเงาของวัตถุ ข้อสังเกตเบื้องต้น จะเห็นได้ว่าส่วนใดที่ถูกแสงมาก เราเกือบไม่ต้องไล่เส้นดินสอเลย  ปล่อยให้เป็นจุดส่วน (Height light) เอาไว้ ส่วนใหญ่จะเป็นส่วนที่นูนของวัตถุ ส่วนที่เป็นพื้นผิวทั่วไปก็ไล่นำหนักของดินสอให้กลมกลืน จะเริ่มเน้นน้ำหนักก็ในส่วนที่เป็นส่วนลึก หรือ เว้าไม่ถูกแสง ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับวัตถุ หรือ พื้นผิวนั้น ๆ ลักษณะของรูปทรงกลม จะเป็นตัวอย่างได้ดี ทั้งในด้านของความกลมกลืนของแสงเงา และฝึกปฏิบัติ

Leave a comment